ตลาดรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2566 ขายออก 406,131 คัน ยอดรวมวูบ แต่เก๋งนั่งยอดพุ่ง เชื่อครึ่งปีหลังดีดกลับบวก  พร้อมคาดการณ์ตลาดรวมปรับตัวอยู่ที่ 855,000 คัน

 

          บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการจำหน่ายรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2566 พร้อมคาดการณ์ตลาดรถยนต์ไทยปี 2566 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566

        มร.โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก ยังคงอยู่ในภาวะทรงตัว โดยมีปัจจัยบวกจากแรงหนุนด้านอุปสงค์ของสภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมที่เริ่มขยายตัวดีขึ้นในปีนี้ รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีทิศทางกระเตื้องขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มมีการฟื้นตัว ส่งผลให้มีความต้องการใช้รถยนต์มากขึ้น ตลอดจนแรงกระตุ้นจูงใจผู้บริโภคด้วยการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ พร้อมแคมเปญการขายเชิงรุกของบรรดาบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทั้งหลาย

          อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์โดยรวมในช่วงหลังนี้ อันเป็นผลมาจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ภาวะสินเชื่อตึงตัว และความผันผวนทางเศรษฐกิจในช่วงของการเลือกตั้ง ซึ่งก่อให้เกิดการชะลอการตัดสินใจซื้อทั้งจากภาคธุรกิจและภาคประชาชน ที่ต่างเฝ้ารอความชัดเจนในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม ส่งผลให้ตัวเลขยอดขายตลาดรวมในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 406,131 คัน ลดลง 5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว”

สถิติการขายรถยนต์ในประเทศ

 ม.ค. – มิ.ย. 2566

ยอดขายปี 2566 เปลี่ยนแปลง

เทียบกับปี 2565

  • ปริมาณการขายรวม
406,131 คัน     -5.0 %
  • รถยนต์นั่ง
148,087 คัน     +9.0 %
  • รถเพื่อการพาณิชย์
258,044 คัน     -11.4 %
  • รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)
182,952 คัน     -19.7 %
  • รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)
149,685 คัน    -24.5 %

          “สำหรับผลการดำเนินงานของโตโยต้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 มียอดขายโดยรวมอยู่ที่ 136,859 คัน ลดลง 3.6% ยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือเท่ากับ 33.7% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความนิยมและยอดขายรถยนต์โตโยต้าในตลาดรถยนต์นั่งที่เติบโตขึ้นถึง 31.2% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มรถอีโคคาร์ที่ยังคงสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 ได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ในตลาดรถเพื่อการพาณิชย์นั้นก็ยังสามารถรักษาระดับยอดขายได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ถึงแม้ว่าสถานการณ์โดยรวมของตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ในช่วงครึ่งปีแรกนี้จะเกิดการชะลอตัวลงก็ตาม”

สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า

 ม.ค. – มิ.ย. 2566

ยอดขายปี 2566 เปลี่ยนแปลง

เทียบกับปี 2565

ส่วนแบ่งตลาด
  • ปริมาณการขายรวม
136,859 คัน    -3.6 % 33.7 %
  • รถยนต์นั่ง
51,041 คัน    +31.2 % 34.5 %
  • รถเพื่อการพาณิชย์
85,818 คัน    -16.8 % 33.3 %
  • รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)
70,544 คัน    -20.9 % 38.6 %
  • รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)
58,782 คัน    -22.4 % 39.3 %

          สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2566 มร.ยามาชิตะคาดการณ์ว่า “ด้วยเหตุปัจจัยในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ทำให้การบริโภคของภาคเอกชนและภาคบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลดลง การสนับสนุนการลงทุนจากทั้งภาครัฐและเอกชนในโครงการต่าง ๆ ตลอดจนการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่และแคมเปญส่งเสริมการขายจากค่ายรถต่าง ๆ ในช่วงครึ่งปีหลัง จะส่งผลต่อทิศทางของเศรษฐกิจและตลาดรถยนต์โดยรวม เชื่อว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนี้น่าจะยังคงฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นเราจึงคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2566 จะอยู่ที่ 855,000 คัน เพิ่มขึ้น  0.7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2566 ยอดขาย

ประมาณการปี 2566

เปลี่ยนแปลง

เทียบกับปี 2565

  • ปริมาณการขายรวม
855,000 คัน     +0.7 %
  • รถยนต์นั่ง
316,900 คัน     +19.6 %
  • รถเพื่อการพาณิชย์
538,100 คัน     -7.9 %

          มร.ยามาชิตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับโตโยต้า เรามีเป้าหมายการขายในปี 2566 อยู่ที่ 291,000 คัน เพิ่มขึ้น 0.8 % จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดที่ 34%”             

ประมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2566 ยอดขาย

ประมาณการปี 2566

เปลี่ยนแปลง

เทียบกับปี 2565

ส่วนแบ่งตลาด
  • ปริมาณการขายรวม
291,000 คัน      +0.8 % 34.0 %
  • รถยนต์นั่ง
104,800 คัน      +26.7 % 33.1 %
  • รถเพื่อการพาณิชย์
186,200 คัน      – 9.6 % 34.6 %
  • รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)
153,014 คัน      -13 % 39.7 %
  • รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)
125,000 คัน      -15.6 % 40.0 %

          สำหรับปริมาณการส่งออกของโตโยต้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 บริษัทฯ ได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 190,491 คัน เพิ่มขึ้น 10% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา  โดยยอดการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 325,231 คัน เพิ่มขึ้น 5.3% จากปีที่แล้ว

ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป

และการผลิตของโตโยต้า ม.ค. – มิ.ย. ปี 2566

ปริมาณปี 2566 เปลี่ยนแปลง

เทียบกับปี 2565

  • ปริมาณการส่งออก
190,491 คัน     +10.0%
  • ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ
325,231 คัน +5.3%

          ทั้งนี้ สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ คาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ ประมาณ 380,000 คัน เทียบเท่าปีที่แล้ว โดยเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้ปริมาณการผลิตรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2566 อยู่ที่ระดับ 643,500 คัน หรือลดลง 2.4% จากปีที่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการขายของทั้งในประเทศและส่งออก

เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป

และการผลิตของโตโยต้าปี 2566

ปริมาณปี 2566 เปลี่ยนแปลง

เทียบกับปี 2565

  • ปริมาณการส่งออก
380,000 คัน      +0 %
  • ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ
643,500 คัน -2.4 %

          มร.ยามาชิตะ ยังได้กล่าวอีกด้วยว่า “ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมานั้น นอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจ ยานยนต์แล้ว โตโยต้ายังได้มีในการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้าง “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Carbon Neutrality) ตามที่ได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้ในงานฉลองวาระครบรอบ 60 ปี ของบริษัทฯ เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งโตโยต้าได้มีการเตรียมความพร้อมในหลากหลายแนวทาง หรือ “Multiple Pathway”  เพื่อทุกความเป็นไปได้ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเดินทางของผู้คน โดยมีการร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมอื่น ๆ อาทิ เช่น “โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบที่ยั่งยืนปราศจากมลภาวะ” ที่โตโยต้าร่วมมือกับเมืองพัทยา ในการจัดสร้างระบบนิเวศเพื่อรองรับการใช้งานยานยนต์ที่ทางโตโยต้าจัดเตรียมไว้ให้ผู้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวในเมืองพัทยาได้ทดลองใช้งานในการเดินทางรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV), รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEV) รวมไปถึงความร่วมมือในโครงการเปิดสถานีไฮโดรเจนแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) ที่โตโยต้านำมาสาธิตการใช้งานในรูปแบบของรถรับส่งระหว่างสนามบินอู่ตะเภาเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจในพื้นที่พัทยา – ชลบุรี และได้มีการต่อยอดมาสู่ความร่วมมือในการวางแผนที่จะนำรถยนต์พลังงานไฟฟ้าต้นแบบอย่างรถกระบะโตโยต้า รุ่น Hilux REVO BEV ซึ่งเป็นรถกระบะพลังงานไฟฟ้า 100% มาทดลองให้บริการในรูปแบบรถโดยสารประจำทางสาธารณะแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในเมืองพัทยา โดยคาดว่าจะพร้อมให้บริการได้ภายในปี 2567

          นอกจากนี้ ในด้านกิจกรรมสังคมอื่น ๆ ก็ยังมุ่งเน้นการขับเคลื่อนสังคมไทย สู่ “ยุคแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย พร้อมทั้งเสริมสร้างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมที่ดี ผ่านการดำเนินกิจกรรมและขยายผลการดำเนินงานในโครงการต่างๆอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น

  • การรณรงค์ด้านการขับขี่ปลอดภัยกับ “โครงการ โตโยต้า ถนนสีขาว” โดยร่วมกับกรมการขนส่งทางบก จัดทำ “วีดิทัศน์การคาดการณ์อุบัติเหตุ (Hazard Perception Training)” โดยนำเนื้อหาที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย มาพัฒนาเป็นองค์ความรู้ที่สามารถเข้าใจได้ง่ายสำหรับประชาชน เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์ได้จริง อันได้แก่ ทักษะด้านการรับรู้ความเสี่ยง (Risk Perception) และทักษะการคาดการณ์อุบัติเหตุ (Hazard Perception) ของผู้ขับรถยนต์ที่มีต่อสถานการณ์การจราจรต่างๆ
  • การรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนกับ “โครงการโตโยต้า 60 ปี 60 ชุมชน สิ่งแวดล้อมยั่งยืน” ที่มีแผนต่อยอดชุมชนต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน ให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค โดยในปีนี้มีแผนในการขยายผลส่งมอบโครงการอีก 3 แห่ง ได้แก่ เชียงใหม่ ราชบุรี บุรีรัมย์
  • การดำเนิน “โครงการ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ โดยแชร์ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนไทย ผ่านการจัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ครบทั้ง 6 แห่ง ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

โตโยต้า ร่วมขับเคลื่อนอนาคต
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2566

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 64,440 คัน ลดลง 5.2%                              

อันดับที่ 1 โตโยต้า      20,877 คัน      ลดลง       0.7%          ส่วนแบ่งตลาด 32.4%

อันดับที่ 2 อีซูซุ          12,505 คัน      ลดลง      37.9%         ส่วนแบ่งตลาด 19.4%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า       7,067 คัน       เพิ่มขึ้น     60.8%         ส่วนแบ่งตลาด  11.0%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 24,333 คัน เพิ่มขึ้น 24.2%                              

อันดับที่ 1 โตโยต้า      7,411 คัน       เพิ่มขึ้น   26.0%          ส่วนแบ่งตลาด 30.5%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า       4,441 คัน       เพิ่มขึ้น   76.4%          ส่วนแบ่งตลาด 18.3%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      1,351 คัน        ลดลง     34.7%          ส่วนแบ่งตลาด 5.6%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 40,107 คัน ลดลง  17.1%                              

อันดับที่ 1 โตโยต้า      13,446 คัน      ลดลง     11.1%          ส่วนแบ่งตลาด 33.6%

อันดับที่ 2 อีซูซุ           12,505 คัน      ลดลง     37.9%          ส่วนแบ่งตลาด 31.2%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        3,215 คัน       เพิ่มขึ้น  16.7%           ส่วนแบ่งตลาด  8.0%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)

ปริมาณการขาย 27,339 คัน ลดลง 27.3%                 

อันดับที่ 1 อีซูซุ           11,100 คัน     ลดลง    40.5%          ส่วนแบ่งตลาด 40.6%

อันดับที่ 2 โตโยต้า       10,803 คัน     ลดลง    14.5%          ส่วนแบ่งตลาด 39.5%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด          3,215 คัน      เพิ่มขึ้น  16.7%           ส่วนแบ่งตลาด  11.8%

ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 5,200 คัน

อีซูซุ 2,007 คัน – โตโยต้า 1,561 คัน – ฟอร์ด 1,164 คัน – มิตซูบิชิ 303 คัน –นิสสัน 165 คัน

 5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 22,139 คัน ลดลง 33.8%                 

อันดับที่ 1 โตโยต้า      9,242 คัน        ลดลง      17.3%         ส่วนแบ่งตลาด 41.7%

อันดับที่ 2 อีซูซุ          9,093 คัน        ลดลง      46.7%         ส่วนแบ่งตลาด 41.1%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        2,051 คัน        ลดลง      13.1%         ส่วนแบ่งตลาด  9.3%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566

1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 406,131 คัน ลดลง 5.0%                              

อันดับที่ 1 โตโยต้า      136,859 คัน     ลดลง       3.6%          ส่วนแบ่งตลาด 33.7%

อันดับที่ 2 อีซูซุ            86,281 คัน      ลดลง      21.5%         ส่วนแบ่งตลาด 21.2%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า      46,134 คัน      เพิ่มขึ้น    14.9%         ส่วนแบ่งตลาด 11.4%

2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 148,087 คัน เพิ่มขึ้น 9.0%                                

อันดับที่ 1 โตโยต้า       51,041 คัน      เพิ่มขึ้น       31.2%      ส่วนแบ่งตลาด 34.5%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า      30,425 คัน      เพิ่มขึ้น       2.9 %       ส่วนแบ่งตลาด 20.5%

อันดับที่ 3  มิตซูบิชิ      9,578 คัน       ลดลง       14.3%        ส่วนแบ่งตลาด  6.5%

3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 258,044 คัน ลดลง 11.4%                    

อันดับที่ 1 อีซูซุ          86,281 คัน      ลดลง      21.5%         ส่วนแบ่งตลาด 33.4%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      85,818 คัน      ลดลง      16.8%         ส่วนแบ่งตลาด 33.3%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        20,117 คัน      เพิ่มขึ้น     35.0%        ส่วนแบ่งตลาด  7.8%

4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)

ปริมาณการขาย 182,952 คัน ลดลง 19.7%

อันดับที่ 1 อีซูซุ           78,633 คัน      ลดลง     22.5%           ส่วนแบ่งตลาด 43.0%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      70,544 คัน      ลดลง     20.9%          ส่วนแบ่งตลาด 38.6%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        20,117 คัน     เพิ่มขึ้น   35.0%          ส่วนแบ่งตลาด 11.0%

ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 33,267 คัน

อีซูซุ 11,953 คัน – โตโยต้า 11,762 คัน – ฟอร์ด 6,270 คัน – มิตซูบิชิ 2,593  คัน – นิสสัน 689 คัน

5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 149,685 คัน ลดลง 24.5%

อันดับที่ 1 อีซูซุ               66,680 คัน  ลดลง        27.8%       ส่วนแบ่งตลาด 44.5%

อันดับที่ 2 โตโยต้า         58,782 คัน  ลดลง        22.4%       ส่วนแบ่งตลาด 39.3%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด           13,847 คัน   เพิ่มขึ้น        9.4%       ส่วนแบ่งตลาด  9.3%